คำถามที่พบบ่อย

พนักงาน

คำตอบ:
  1. บันทึกข้อความการขอเปิดสอบที่ระบุ คุณสมบัติที่ต้องการ และรายชื่อคณะกรรมการพิจารณาเฉพาะตำแหน่ง (สอบสัมภาษณ์) เอกสารเขียนส่งถึง รองอธิการบดีฝ่ายบุคคล
  2. ใบแสดงลักษณะงาน (Job Description)
  3. ใบเสนอรายชื่อพี่เลี้ยงที่ลงนามครบถ้วนเรียบร้อย
คำตอบ:
  1. รองอธิการบดีฝ่ายบุคคล ประธานคณะอนุกรรมการ
  2. คณบดี หรือรองคณบดีที่ได้รับมอบหมาย หรือผู้อำนวยการสำนัก/สถาบัน คณะอนุกรรมการ
  3. หัวหน้าภาควิชา/ประธานสายวิชา หรือเลขานุการสำนัก/สถาบัน หรือผู้อำนวยการสำนักงานหรือเทียบเท่า หรือหัวหน้าส่วนงาน หรือหัวหน้างาน คณะอนุกรรมการ
  4. พี่เลี้ยงด้านการปฏิบัติงาน คณะอนุกรรมการ
  5. ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล คณะอนุกรรมการ
คำตอบ:
  1. ภาคการสอบข้อเขียนและหรือการทดสอบปฏิบัติ (100 คะแนน) และ
  2. ภาคการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง (สัมภาษณ์) (100 คะแนน)

ผู้ที่สอบได้คะแนนในแต่ละภาคที่สอบตามหลักสูตรไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 และได้คะแนนรวมทั้งหมดทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

คำตอบ: ตำแหน่งที่ขอเปิดสอบคัดเลือกได้ ได้แก่ 1.อาจารย์ 2.นักวิจัย 3.ตำแหน่งที่จัดอยู่ในสาขาขาดแคลน 4.ตำแหน่งที่ต้องการพนักงานที่มีประสบการณ์การทำงานสูง
คำตอบ: คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย
  1. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
  2. รองอธิการบดีฝ่ายบุคคล
  3. คณบดี/ผู้อำนวยการสำนักหรือสถาบัน หรือรองคณบดีฝ่ายวิชาการ/รองผู้อำนวยการสำนักหรือสถาบัน
  4. หัวหน้าภาควิชา/ประธานสายวิชา
  5. ผู้ทรงคุณวุฒิในศาสตร์วิชา
  6. ผู้แทนสภาวิชาการ
  7. ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล
คำตอบ:
  1. วิศวกร
  2. สถาปนิก
  3. มัณฑนากร
  4. นักคอมพิวเตอร์
  5. พยาบาล
  6. นักพัสดุ
  7. นิติกร
  8. นักประชาสัมพันธ์
คำตอบ: กำหนดการสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์ จะประกาศทางเว็บไซต์เดียวกันกับการประกาศรับสมัคร ทางมหาวิทยาลัยจะประกาศกำหนดการสอบหลังจากปิดรับสมัครแล้วไม่เกิน 7 วันทำการ
คำตอบ: หากมีผู้สอบผ่านการสัมภาษณ์ ทางสทบ.จะแจ้งวันที่ผู้สอบผ่านเริ่มปฏิบัติงานได้ไปยังหน่วยงาน
หากไม่มีผู้สอบผ่าน หากหน่วยงานต้องการเปิดสอบใหม่ ต้องส่งบันทึกข้อความมาอีกครั้ง
คำตอบ: สามารถตรวจสอบตำแหน่งที่เปิดรับสมัครได้ที่ https://kmutt.thaijobjob.com/

ลูกจ้างมหาวิทยาลัย

คำตอบ:
  1. กรณีจ้างใหม่ หน่วยงานต้องส่งตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานเพื่อนำผลมาประกอบการจ้าง
  2. ควรส่งเอกสารการจ้างมาก่อนวันที่ 15 ของทุกเดือน มิฉะนั้นจะไม่ทันการจ่ายเงินเดือนงวดนั้น ๆ
  3. การจ้างงานควรคำนึงถึงค่าชดเชย ที่หน่วยงานต้องจ่ายหากไม่ต้องการจ้างต่อ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายของหน่วยงาน
  4. ตำแหน่งและค่าจ้าง หน่วยงานต้องพิจารณาตามภาระงานและระดับตำแหน่ง โดยเทียบเคียงกับมาตรฐานการกำหนดตำแหน่งของพนักงาน เป็นเกณฑ์การจ้างไม่ใช่คุณวุฒิที่สำเร็จการศึกษา
  5. การตรวจสอบข้อมูลประวัติบุคคล ก่อนการดำเนินการจ้างลูกจ้างของมหาวิทยาลัยใหม่ ขอให้หน่วยงานตรวจสอบข้อมูลพื้นฐานบุคคล เช่น ประวัติเกี่ยวกับการจ้าง การเลิกจ้าง และได้รับค่าชดเชยของมหาวิทยาลัยได้ที่สำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล
  6. การทำสัญญาจ้างและการประเมินผลการทดลองปฏิบัติงาน เนื่องจากการจ้างบุคคลเพื่อทำงานมีความเกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าชดเชย ดังนั้นในการทำสัญญาจ้างเพื่อจ้างบุคคลทำงานในครั้งแรก หน่วยงานต้องมีการตกลงภาระงานและขอให้มีการประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานทุก 3 เดือนของการปฏิบัติงาน โดยให้ใช้ แบบประเมินผลทดลองปฏิบัติงานของลูกจ้างมหาวิทยาลัย เพื่อนำผลประเมินการปฏิบัติงานมาใช้ประกอบการตัดสินใจในการจ้างให้ปฏิบัติงานต่อไป หรือให้ทดลองปฏิบัติงานต่อไปอีกก็ได้ ซึ่งหากมีผลการปฏิบัติงานระหว่างทดลองงานไม่ได้ หน่วยงานสามารถยกเลิกการจ้างได้ (ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีจ้างไม่ถึง 120 วัน และมีการแจ้งยกเลิกการจ้างล่วงหน้า 1 เดือน)
  7. เมื่อลูกจ้างมหาวิทยาลัยผ่านการประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานทุก 3 เดือนในครั้งที่ 4 แล้ว ให้ทุกหน่วยงานประเมินผลการปฏิบัติงานทุก 6 เดือนตามรอบการประเมินเดียวกับพนักงานมหาวิทยาลัย โดยใช้แบบประเมินผลการปฏิบัติงานของลูกจ้างมหาวิทยาลัย
คำตอบ:
  1. บันทึกข้อความแสดงเหตุผลในการจ้าง
  2. แบบฟอร์มขออนุมัติจ้างลูกจ้างของมหาวิทยาลัย
  3. สัญญาจ้างลูกจ้างของมหาวิทยาลัย 3 ฉบับ (สำหรับเจ้าตัว 1 ฉบับ, หน่วยงาน 1 ฉบับ และ สทบ. 1 ฉบับ)
  4. แบบฟอร์มประวัติย่อลูกจ้างของมหาวิทยาลัย
  5. ใบแสดงลักษณะงาน
  6. สำเนาวุฒิการศึกษา
  7. สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชนหรือ Passport

การเลื่อนระดับพนักงานกลุ่มวิชาการ

คำตอบ:
  1. อายุการปฏิบัติงานในระดับเดิม
  2. คะแนนประเมินผลการปฏิบัติงานย้อนหลัง 3 ครั้ง
  3. ระดับผลการปฏิบัติงานย้อนหลัง 3 ครั้งติดต่อกัน (กรณีเลื่อนระดับแบบเร็ว)
คำตอบ:
  1. แบบฟอร์มเพื่อประกอบการพิจารณาการเลื่อนระดับตำแหน่งพนักงานกลุ่มวิชาการเพื่อเข้าสู่ระดับ ว2-ว6
  2. แบบสรุปภาระงานย้อนหลัง 2 ปี
  3. แบบสรุปผลงานตามหลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาผลงานพนักงานกลุ่มวิชาการที่ขอรับการประเมินเพื่อเลื่อนระดับ
  4. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานด้านวิชาการย้อนหลังจำนวน 4 ภาคการศึกษา
  5. เอกสารที่แสดงถึงการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ตามแบบประเมินในข้อ 4
คำตอบ:

การกรอกข้อมูลในเอกสารต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูล และขอให้ระบุข้อมูลให้ชัดเจนเกี่ยวกับ

  1. วิธีการเลื่อนระดับ
  2. ลักษณะงานที่ปฏิบัติที่ผ่านมา
คำตอบ:
  1. Intranet > ระบบ MyEvaluation > เลือกภาค/ปีการศึกษาที่ต้องการทำงาน > Academic Work (ซึ่งพนักงานกลุ่มวิชาการ นำข้อมูลคะแนนที่ใช้สำหรับนำไปกรอกในแบบฟอร์มเลื่อนระดับ หัวข้อ คะแนนประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ด้านวิชาการตามภาคการศึกษา และคะแนนเฉลี่ยรวมคะแนนที่นำไปใช้สำหรับกรอกในแบบฟอร์มเลื่อนระดับ หัวข้อ สรุปการประเมินผลการปฏิบัติงานและการเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลัง 5 ปี)
คำตอบ:
  1. หัวข้อ “สรุปการประเมินผลการปฏิบัติงานและการเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลัง 5 ปี” เป็นข้อมูลคะแนนคะแนนเฉลี่ยที่ใช้ในตอนการประเมินผลการปฏิบัติงานทุก 6 เดือน ซึ่งการกรอกคะแนนขอให้ใช้ทศนิยมเพียง 1 ตำแหน่งเท่านั้น
  2. หัวข้อ “คะแนนประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ด้านวิชาการตามภาคการศึกษา” เป็นข้อมูลคะแนนผลการปฏิบัติงานตามภาคการศึกษา (คะแนนผลการปฏิบัติงานตามภาคการศึกษาที่นำมาจากระบบ MyEvaluation ซึ่งการกรอกคะแนนขอให้ใช้ทศนิยมเพียง 1 ตำแหน่งเท่านั้น
คำตอบ:
  1. นำข้อมูลจากแบบประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ด้านวิชาการในระบบ My Evaluation มากรอกในแบบสรุปภาระงานย้อนหลังให้ครบถ้วน และต้องระบุข้อมูลของผลการปฏิบัติงานให้มีความครบถ้วน สามารถแสดงให้ผู้ประเมินเห็นภาระงานได้อย่างชัดเจน
  2. การกรอกข้อมูลเป็นการกรอกข้อมูลภาระงานย้อนหลัง 2 ปี (4 ภาคการศึกษา)
คำตอบ:

การจัดทำแบบสรุปผลงานตามหลักเกณฑ์และแนวทางการเลื่อนระดับพนักงานกลุ่มวิชาการ ขอให้ระบุผลการปฏิบัติงานให้ครบถ้วน รวมถึงต้องอธิบายรายละเอียดที่แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินงาน หรือผลกระทบที่แสดงให้เห็นในมิติต่าง ๆ เช่น ดำเนินการจัดโครงการเผยแพร่ความรู้ให้ชุมชน เรื่อง การซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า ผู้ขอรับการประเมินปฏิบัติงานในฐานะเป็นวิทยากรผู้ดำเนินการอบรมให้กับชุมชน การดำเนินการนี้ผลที่คาดว่าจะได้รับคือคนในชุมชนสามารถสมมุติฐานเบื้องต้นได้ว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าอาจเกิดเหตุเสียหายมาจากอะไร และสามารถซ่อมแซมได้เบื้องต้น เช่น การซ่อมแซมปลั๊กไฟพัดลมที่มีรอยรั่ว เป็นต้น

คำตอบ:

กรณีที่ผู้ขอรับการประเมินมิได้ใส่ผลการปฏิบัติงานไว้ในระบบ My Evaluation และหากต้องการนำผลการปฏิบัติงานนั้นมาใช้สำหรับประกอบการพิจารณาการเลื่อนระดับ ผู้ขอรับการประเมินสามารถกระทำได้ โดยจัดทำเป็นบันทึกข้อความผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นและแนบเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้สำหรับประกอบการพิจารณาการเลื่อนระดับ ทั้งนี้ ขอให้คำนึงระยะเวลาการปฏิบัติงานต้องเป็นในช่วงที่ขอรับการประเมินเพื่อเลื่อนระดับ

คำตอบ:

พนักงานต้องคำนึงและให้ความสำคัญกับข้อเสนอแนะและข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ และการเสนอผลงานเพื่อขอรับการประเมินเพื่อเลื่อนระดับต้องแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานที่เป็นไปตามข้อเสนอแนะ หรือข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการแสดงออกถึงความใส่ใจของผู้ขอรับการประเมิน คณะกรรมการฯ ต้องนำผลการพิจารณา รวมถึงข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตในครั้งก่อนมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย เพื่อเป็นการพิจารณาถึงศักยภาพในการพัฒนาที่เพิ่มมากขึ้นจากเดิม

คำตอบ:
  1. แบบฟอร์มเพื่อประกอบการพิจารณาการเลื่อนระดับตำแหน่งพนักงานกลุ่มวิชาการเพื่อเข้าสู่ระดับ ว2-ว5
  2. แบบสรุปภาระงานย้อนหลัง 2 ปี
  3. แบบสรุปผลงานตามหลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาผลงานพนักงานกลุ่มวิชาการที่ขอรับการประเมินเพื่อเลื่อนระดับ
  4. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานด้านวิชาการย้อนหลังจำนวน 4 ภาคการศึกษา
คำตอบ:
  1. การพิจารณาคุณสมบัติด้านความเหมาะสมของผู้ขอเลื่อนระดับของระดับเดิมและระดับที่ขอเลื่อน เป็นการให้ความเห็นในด้านคุณลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะตัว
  2. การพิจารณาให้ความเห็นสรุปความเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะขอเลื่อนใหม่ เป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพในการปฏิบัติงานของผู้ขอรับการประเมินในระดับที่ขอเลื่อน ซึ่งเป็นการพิจารณาความเหมาะสมของตำแหน่งจากมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
  3. การพิจารณาผลงานในเชิงปริมาณ (พิจารณาจากคะแนนประเมินผลการปฏิบัติงาน) และผลงานผลงานในเชิงคุณภาพ เป็นการให้ความเห็นภาพรวมของผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาของผู้ขอรับการประเมินว่ามีความเหมาะสมในระดับตำแหน่งที่ขอเลื่อน
  4. การพิจารณาให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่พบว่าเป็นข้อสังเกตที่ต้องปรับปรุง หรือส่งเสริม/สนับสนุนให้ปฏิบัติ รวมถึงต้องให้คำแนะนำสำหรับการปฏิบัติงานในระดับที่สูงยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ความสามารถให้ปฏิบัติงานได้เหมาะสมกับตำแหน่งที่สูงขึ้น
คำตอบ:

คู่มือการเลื่อนระดับพนักงานกลุ่มวิชาการ โดยค้นหาข้อมูลได้ที่ Intranet>เอกสาร>การเลื่อนระดับพนักงานมหาวิทยาลัย>การเลื่อนระดับพนักงานกลุ่มวิชาการ

คำตอบ:

นางสาวอร่าม ใจกล้า โทร.0-2470-8075 หรือส่งข้อสงสัยสอบถามได้ที่ aram.jai@mail.kmutt.ac.th

การเลื่อนระดับพนักงานสายวิชาชีพอื่น

คำตอบ:

พนักงานต้องนำส่งเอกสารการเลื่อนระดับพร้อมบันทึกข้อความเพื่อขอพิจารณาเลื่อนระดับตำแหน่งจากหน่วยงาน ส่งมายังสำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล ตามกำหนด ดังนี้

  1. พนักงานที่มีคุณสมบัติครบและประสงค์จะขอรับการประเมินเพื่อเลื่อนระดับ ณ 2 เม.ย. ให้ยื่นเอกสารขอเลื่อนระดับ ภายในวันที่ 1-15 เม.ย. ตามรอบการเลื่อนระดับในแต่ละปี
  2. พนักงานที่มีคุณสมบัติครบและประสงค์จะขอรับการประเมินเพื่อเลื่อนระดับ ณ 2 ต.ค. ให้ยื่นเอกสารขอเลื่อนระดับ ภายในวันที่ 1-15 ต.ค. ตามรอบการเลื่อนระดับในแต่ละปี
คำตอบ:

หากเอกสารมีการแก้ไขจะต้องอยู่ในวันที่กำหนดรับเอกสารนั้น หากเกินกำหนดวันดังกล่าว จะนำเรื่องเสนอในการพิจารณาเลื่อนระดับครั้งต่อไป โดยพนักงานจะต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การพิจารณาเลื่อนระดับของมหาวิทยาลัยครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนวันที่มีผลเลื่อนระดับในรอบนั้น ๆ

คำตอบ:

การคิดคะแนนผลการปฏิบัติงาน 1 ครั้ง คือ ผลการปฏิบัติงาน 1 ปี (เม.ย. และ ต.ค) ทั้งนี้ การนำเสนอผลการปฏิบัติงานให้พิจารณาการคิดคะแนนผลการปฏิบัติ 3 ปีย้อนหลังติดต่อกัน

คำตอบ:

พนักงานสามารถใช้ผลภาษาอังกฤษเพื่อประกอบในการเลื่อนระดับได้ จนถึงวันวันที่ยื่นเอกสารเพื่อขอเลื่อนระดับพนักงานมหาวิทยาลัย

คำตอบ:

เนื่องจากคณะกรรมการกลั่นกรองการเลื่อนระดับตรวจสอบพบว่าพนักงานผู้เสนอขอเลื่อนระดับส่วนใหญ่ นำเสนอผลงานที่ขอเลื่อนระดับด้วยการรวบรวมเอกสารเป็นเล่ม ประกอบด้วย แบบฟอร์มเอกสารหรือบันทึก ข้อความ รูปภาพกิจกรรมในการทำงาน คำสั่งในงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เป็นต้น โดยขาดการจัดลำดับ ความสำคัญในงานที่ต้องการนำเสนอเป็นผลงานในการเลื่อนระดับที่มีการวิเคราะห์ให้เห็นถึงคุณค่าของงาน ตนเองปฏิบัติและมิได้มีการวิเคราะห์ผลกระทบของงานที่ส่งผลดีต่อหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัย รวมทั้งไม่ ชัดเจนในทิศทางการพัฒนาและการเติบโตของตนเองในอนาคตอย่างชัดเจน

คำตอบ:
  1. สำหรับพนักงานเกณฑ์การจ่ายเงินประจำตำแหน่งทางวิชาการเป็นไปตาม ประกาศ มจธ. ว่าด้วย หลักเกณฑ์การจ่ายเงินประจำตำแหน่งทางวิชาการ พ.ศ.2550 เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2555
  2. สำหรับข้าราชการเกณฑ์การจ่ายเงินประจำตำแหน่งทางวิชาการเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (อ้างอิงหนังสือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ ศธ 0509(2)/ว 1435 วันที่ 18 พฤศจิกายน 2553)
คำตอบ:

มหาวิทยาลัยจะเบิกจ่ายเงินประจำแหน่งทางวิชาการสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ระดับ ว 2-ว6 ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ตั้งแต่ระดับ ว 3-ว6 และศาสตราจารย์ ตั้งแต่ระดับ ว4-ว6 ซึ่งอัตราการจ่ายเงินประจำตำแหน่งทางวิชาการสำหรับพนักงานให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

คำตอบ:

ให้เสนอเอกสารเช่นเดียวกับการเสนอขอเลื่อนระดับกลุ่มวิชาการ (ว) และพนักงานจะได้รับเงินตามอัตราที่ระบุเมื่อมีข้อตกลงเรื่องผลงานเพิ่มกับมหาวิทยาลัย ตามเกณฑ์ที่สภาวิชาการเป็นผู้กำหนด กรณีศาสตราจารย์จะต้องได้รับแต่งตั้งและดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ในระดับ ว6 มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี

การตัดโอนตำแหน่ง/อัตราเงินเดือน/ย้ายพนักงาน

คำตอบ:

ในกรณีการตัดโอนตำแหน่งและย้ายพนักงาน นั้น ต้องมีบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้บริหารของทั้ง 2 หน่วยงาน แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

  1. กรณีการตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือน กล่าวคือ ในหน่วยงานที่ประสงค์จะให้และรับ ตัดโอนพนักงานต้องมีบันทึกข้อตกลงในการรับเป็นลายลักษณ์อักษร (ระบุวัน/เดือน/ปี ที่มีผลให้ชัดเจน)
  2. กรณีการย้ายพนักงานไปสังกัดหน่วยงานนั้นๆ ในหน่วยงานที่รับย้ายต้องมีกรอบอัตราว่างที่ จะใช้รองรับ (ระบุวัน/เดือน/ปี ที่มีผลให้ชัดเจน)

*ทั้ง 2 กรณีนี้ เมื่อหน่วยงานทำความตกลงยินยอมร่วมกันแล้ว ให้จัดส่งบันทึกที่หน่วยงานได้ตกลงยินยอมการตัดโอนตำแหน่งและย้ายพนักงานของทั้งสองหน่วยงาน และส่งไปยัง สทบ. เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

การขอปรับวุฒิพนักงาน

คำตอบ:

ไม่ได้ เพราะพนักงานที่จะได้รับการปรับวุฒิต้องเป็นพนักงานสายวิชาการเท่านั้น

คำตอบ:

เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบการขอการปรับวุฒิมีดังนี้

  1. แบบใบคำร้องขอปรับวุฒิพนักงาน
  2. ใบปริญญาบัตรตัวจริงพร้อมสำเนา 2 ชุด หรือใบรับรองผลการศึกษาตัวจริงพร้อมสำนาจำนวน 2 ชุด
  3. ใบรายงานผลการศึกษา (Transcript) ตัวจริงพร้อมสำเนา จำนวน 2 ชุด
  4. คำสั่งอนุญาตให้ลาศึกษาต่อ สำเนาจำนวน 1 ชุด
  5. บันทึกข้อความ เรื่อง ขอรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติงาน

หมายเหตุ : ให้พนักงานผู้มีความประสงค์จะยื่นขอปรับวุฒิกรอกข้อมูลรายละเอียดตามเอกสารแบบใบคำร้องขอปรับวุฒิพนักงานให้ถูกต้องครบถ้วน และส่งเอกสารดังกล่าวข้างต้นไปยังสำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อดำเนินการต่อไป

* เอกสารต้นฉบับที่สำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคลตรวจสอบและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว จะส่งคืนเจ้าตัว

คำตอบ:

สำหรับเงื่อนไขของวันที่มีผลสำหรับผู้ที่ได้รับการปรับคุณวุฒิ/ปรับระดับตำแหน่งตามคุณวุฒิ และ มีเงื่อนไขดังนี้

  1. การปรับวุฒิในกรณีสำเร็จการศึกษาก่อนวันรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติงาน ให้ปรับวุฒิได้ไม่ก่อน วันที่รายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติงาน
  2. การปรับวุฒิในกรณีสำเร็จการศึกษาหลังวันรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติงาน ให้ปรับวุฒิได้ไม่ก่อน วันที่สำเร็จการศึกษา
  3. ผู้ประสงค์ขอปรับวุฒิการศึกษา ต้องเสนอเรื่องขอปรับวุฒิพร้อมเอกสารหลักฐานวุฒิการศึกษา ที่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ ให้สำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล ภายใน 60 วัน ถ้ายื่นเรื่องให้ สำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล เกิน 60 วัน นับจากวันที่สำเร็จการศึกษา / วันที่รายงานตัวกลับ เข้าปฏิบัติงานให้ปรับวุฒิได้ไม่ก่อนวันที่สำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคลได้รับเรื่องขอปรับวุฒิ พร้อมเอกสารหลักฐานวุฒิการศึกษาที่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์
คำตอบ:

ในการเสนอขอปรับวุฒิการศึกษาของพนักงานมหาวิทยาลัยจะพิจารณาผู้มีสิทธิขอปรับวุฒิ ดังนี้

  1. เป็นผู้มีคุณวุฒิตรงกับลักษณะการสอนของภาควิชา คณะ สถาบัน ศูนย์ หรือสำนัก
  2. เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษาต่อทั้งในและนอกเวลาราชการ โดยมหาวิทยาลัยจะคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบ ความประพฤติ และความเหมาะสมของพนักงานที่จะได้รับการปรับวุฒิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องพิจารณาถึงลักษณะงานที่ปฏิบัติ และผลประโยชน์ที่หน่วยงานจะได้รับเป็นสำคัญ

การต่อเวลาราชการของข้าราชการ

คำตอบ:

หน่วยงานต้องวางแผนอัตรากำลังก่อนปีที่ข้าราชการเกษียณอายุเป็นระยะเวลา 4 ปี

คณะกรรมการประเมินการทดลองการปฏิบัติงาน

คำตอบ:

พนักงานตำแหน่งวิชาการ 1. หัวหน้าภาควิชา หรือประธานสายวิชา 2. หัวหน้าสาขาวิชา หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายในภาควิชา 3. ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกภาควิชา หรือสายวิชา หรือภายนอกหลักสูตร (ในกรณีของคณะศิลปศาสตร์) อย่างน้อย 1 คน พนักงานตำแหน่งวิชาชีพอื่นที่ไม่ใช่สายวิชาการ 1. ผู้บังคับบัญชาเบื้องต้น 2. ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป 3. ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภายใน หรือหน่วยงานภายนอก จำนวน 1 คน

คำตอบ:

คณะ สำนัก สถาบัน ต้องให้คณะกรรมการประจำคณะ หรือคณะกรรมการประจำสำนัก หรือสถาบัน พิจารณากลั่นกรอง และเสนอรายชื่อคณะกรรมการประเมินตามโครงสร้างของคณะ สำนัก สถาบัน มายังอธิการบดี หรือผู้ที่อธิการบดีมอบหมายพิจารณาและแต่งตั้ง

การติดตามประเมินผลการทดลองงานพนักงานทดลองงาน 90 วัน

คำตอบ:

การติดตามประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา ดังนี้

  1. ช่วงระยะเวลา 30-45 วัน เริ่มตั้งแต่หน่วยงานรับบรรจุพนักงานเข้าในสังกัดนั้น ให้ผู้บังคับบัญชาติดตามประเมินผลการทดลองปฏิบัติ และแนะนำให้พนักงานปรับปรุงแก้ไข (ถ้ามี)
  2. ช่วงระยะเวลา 90 วัน ให้ผู้บังคับบัญชาติดตามประเมินผลพร้อมทั้งแจ้งให้พนักงานรับทราบและแจ้งผลไปยัง สทบ.ดำเนินการต่อไป (ส่งไปยัง สทบ. ก่อนครบกำหนด 90 วัน ไม่น้อยกว่า 10 วัน)

การประเมินผลการปฏิบัติงาน

คำตอบ:

ระบบเปิดให้สามารถกรอกข้อมูลได้ตลอด โดยมีภาคการศึกษาให้เลือก

คำตอบ:

การปรับเปลี่ยนภาระงานผู้บังคับบัญชาต้องมีการจัดทำข้อตกลงภาระงานล่วงหน้าก่อนการดำเนินการทำงาน และส่งให้มหาวิทยาลัยรับทราบภายใน 1 เดือนจากวันที่ได้้ทำการตกลง (ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มวิชาการ พ.ศ.2562)

คำตอบ:

ถ้าทราบในช่วงเวลาการประเมิน สามารถแจ้งให้กรรมการประเมินเป็นผู้ปลดล็อคข้อมูล เพื่อทำการแก้ไขให้ถูกต้อง

คำตอบ:
  1. ผู้บังคับบัญชาแจ้งผลการประเมินและข้อมูลแนะนำในการพัฒนาให้ทราบเป็นรายบุคคล
  2. สามารถตรวจสอบได้โดยเข้าระบบ My Profile ผ่านระบบ Intranet เมนูผลประเมิน/การเลื่อนเงินเดือน

การประเมินสมรรถนะหลัก (Core Competency)

คำตอบ:

สามารถดาวน์โหลดได้ที่ระบบ Intranet>เอกสาร>การประเมินสมรรถนะหลัก (Core Competency) สำหรับหน่วยงานนำร่อง (สำนักงานอธิการบดีและคณะวิศวกรรมศาสตร์) (มกราคม 2559)

คำตอบ:

ในการประเมินรอบดังกล่าวเป็นการประเมินเฉพาะหน่วยงานนำร่อง ผลที่ได้จะนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการประเมินสมรรถนะหลักเท่านั้น จะไม่ส่งผลต่อการเลื่อนเงินเดือน

โครงสร้างตำแหน่ง อัตราเงินเดือนและค่าตอบแทน

คำตอบ:

สามารถตรวจสอบได้โดยเข้าระบบ MyProfile ผ่านระบบ Intranet เมนูผลประเมิน/การเลื่อนเงินเดือน สามารถดูค่าสูงสุดของกล่องเงินเดือนที่ตนเองอยู่ ตรงคอลัมน์ค่า Max

คำตอบ:

การจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้บริหารจะมีการเจรจาค่าตอบแทนโดยรวมเงินประจำตำแหน่งไว้แล้ว จึงไม่มีการจ่ายเงินประจำตำแหน่งบริหารแยก

การเลื่อนเงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัย

คำตอบ:

คำสั่งการเลื่อนเงินเดือนประจำปีในช่องหมายเหตุ จะมีการแจ้งว่าเต็มโครงสร้าง หรือใกล้โครงสร้าง (ใกล้หมายถึงประมาณ 10% ของเงินเดือนจะถึง Max ของกล่องตนเอง)

คำตอบ:

ตามระเบียบ มจธ. ว่าด้วย หลักเกณฑ์การเลื่อนเงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.2555 ข้อ 12 ข้อมูลเกี่ยวกับเงินเดือน เงินค่าตอบแทนอื่นๆ รวมทั้งการเลื่อนเงินเดือนของพนักงาน ให้ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่สามารถเปิดเผยแก่บุคคลอื่น

คำตอบ:

ตัวเลขที่นำไปใช้ในการคิดคำนวณ เพื่อเลื่อนเงินเดือนของพนักงานแต่ละกลุ่ม แต่ละระดับ เช่น ปัจจุบันเงินเดือน 30,000 บาท Ref. Point กลุ่ม ว1 เท่ากับ 20,000 บาท ร้อยละการเลื่อนเงินเดือน 5 ได้รับเงินเพิ่มเท่ากับ 1,000 บาท เงินเดือนที่ได้รับการเลื่อนเงินเดือน 31,000 บาท

คำตอบ:

มหาวิทยาลัยฯ จะกำหนด Reference Point ที่ใช้ในการเลื่อนเงินเดือนในแต่ละกล่องเงินเดือน ตามโครงสร้างตำแหน่งและอัตราเงินเดือนที่ได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย ซึ่ง Reference Point นี้ได้พิจารณามาจากเงินเดือนเฉลี่ย และ Mid Point ในแต่ละกล่องเงินเดือน และในแต่ละปี Reference Point อาจเท่ากับ Mid Point

การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ (การจัดระดับผลงานโดยอิงเกณฑ์การ Forced ranking)

คำตอบ:

คะแนน 90 - 100 เกรด A

คะแนน 80 - 89 เกรด B+

คะแนน 70 - 79 เกรด B

คะแนน 60 - 69 เกรด C+

คะแนน < 60 เกรด C และไม่ได้รับการพิจารณาให้เลื่อนเงินเดือน

การต่อสัญญาจ้างพนักงาน

คำตอบ:

ขั้นตอนการดำเนินการต่อสัญญาจ้างทำงานมีดังนี้

  1. หน่วยงาน จัดทำแบบประเมินสรุปผลการประเมิน โดยกรอกรายละเอียดข้อมูลเบื้องต้นตามแบบฟอร์มของมหาวิทยาลัยให้ถูกต้องและครบถ้วน (ตามประเภทของพนักงาน) ในกรณีของคะแนนผลการประเมินที่ใช้ประกอบการพิจารณาการต่อสัญญาจ้าง จำนวนรอบการประเมินขึ้นอยู่กับระยะเวลาการต่อสัญญาจ้างฉบับที่ผ่านมา (ดูจากปีงบประมาณ เช่น รอบ เม.ย. /ต.ค.)
  2. คณะกรรมการผู้ทำหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติงานประเมินผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งระบุเหตุผลประกอบการพิจารณาในการเสนอต่อสัญญาจ้างของพนักงานนั้นๆ หากพบว่า พนักงานรายใดมีผลการปฏิบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์คะแนนความคาดหวังที่มหาวิทยาลัยกำหนด และ/หรือมีแนวโน้มของผลคะแนนการประเมินลดลง ผู้บังคับบัญชาต้องแจ้งให้พนักงานรับทราบพร้อมจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร/ข้อตกลงที่ชัดเจน เพื่อพัฒนาปรับปรุงผลงานในด้านนั้นๆ
  3. หน่วยงาน จัดทำบันทึกแจ้งความประสงค์และสรุปผลการประเมินฯ พร้อมเอกสารประกอบการพิจารณาในการต่อสัญญาจ้างทำงานส่งไปยังสำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อดำเนินการต่อไป ( สามารถดาวน์โหลดเอกสารตัวอย่างการกรอกข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://hrm.kmutt.ac.th )
คำตอบ:

  1. บันทึกข้อความเสนอต่อสัญญาจ้างจากหน่วยงาน โดยบอกวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาชั้นสูงสุดของหน่วยงาน
  2. แบบสรุปรายงานผลการปฏิบัติงานฯ/ แบบประเมินผลการทดลองปฏิบัติงาน
  3. สำเนาแบบรายงานผลการปฏิบัติงานต่าง ๆ ในภาคการศึกษาล่าสุดของการประเมิน (สำหรับพนักงานสายวิชาการ)/ สำเนาแบบประเมินที่ใช้เลื่อนเงินเดือนรอบล่าสุดของการประเมินการต่อสัญญาจ้าง (สำหรับพนักงานสายวิชาชีพอื่น)
  4. ใบแสดงลักษณะงาน
  5. บันทึกข้อตกลงการพัฒนา
  6. แผนพัฒนาฯ / ข้อตกลงภาระงาน (ถ้ามี)
  7. ผลงานเด่น (ถ้ามี)
หมายเหตุ :

  1. กรณีที่เป็นพนักงานทดลองปฏิบัติงาน ใช้แบบประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานของพนักงานสายวิชาการ (สำหรับพนักงานสายวิชาการ)/ แบบประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานของพนักงานสายวิชาชีพอื่น ระดับปฏิบัติการ (สำหรับพนักงานสายวิชาชีพอื่น)
  2. กรณีที่เป็นพนักงานที่ประจำตามสัญญาจ้าง ใช้แบบรายงานผลการปฏิบัติงานของพนักงานเพื่อต่อสัญญาจ้างสายวิชาการ (สำหรับพนักงานสายวิชาการ)/ แบบรายงานผลการปฏิบัติงานของพนักงานเพื่อต่อสัญญาจ้างสายวิชาชีพอื่นระดับปฏิบัติการ (สำหรับพนักงานสายวิชาชีพอื่น)
  3. แบบประเมินเพื่อต่อสัญญา สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://bit.ly/HRMEVALUATION

คำตอบ:

แนวทางในการพิจารณาการต่อสัญญาจ้างของพนักงานมีดังนี้

  1. พนักงานสายวิชาการ ต้องมีผลการประเมินคะแนนด้านวิชาการผ่านตามความคาดหวังของ มหาวิทยาลัยครบทั้ง 5 กลุ่มของแต่ละระดับรวมถึงคะแนนประเมินคุณลักษณะฯ โดยที่ผู้บังคับบัญชาควรคำนึงถึงภาระงานที่มอบหมาย ผลการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลการประเมินเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร
  2. พนักงานสายวิชาชีพอื่น ต้องมีผลคะแนนการประเมินผ่านตามความคาดหวังของภาระงานทั้งสองด้าน (1. ด้านการประเมินผลงาน , 2. ด้านประเมินคุณลักษณะฯ) สามารถดูรายละเอียดและวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานเพิ่มเติมได้ตามหนังสือ “คู่มือการใช้แบบประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับพนักงานสายวิชาชีพอื่น มจธ.” โดยที่ผู้บังคับบัญชาควรคำนึงถึงภาระงานที่มอบหมายผลการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลการประเมินเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร

ในกรณีพนักงานมีผลการประเมินไม่ผ่านตามเกณฑ์ และ/หรือมีแนวโน้มของผลคะแนนการประเมินลดลงให้ดำเนินการดังนี้

- ให้ผู้บังคับบัญชาและผู้รับการประเมินจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร/ข้อตกลงที่ชัดเจนร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาปรับปรุงผลการปฏิบัติงานของพนักงานในสายงานนั้นๆ ให้ได้รับผลคะแนนการประเมินการปฏิบัติงานผ่านตามเกณฑ์ความคาดหวัง และเพื่อความก้าวหน้าของพนักงานในสายงานนั้นๆ ในอนาคตต่อไป

การทำสัญญาจ้างของพนักงานแบบไม่ประจำ (ผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษฯ)

คำตอบ:
  1. สัญญาจ้างผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษฯ 3 ฉบับ
  2. ใบแสดงลักษณะงาน (Job Description) 3 ฉบับ
  3. เอกสารประกอบการสัญญาจ้าง พนักงานแบบไม่ประจำ หรือบันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาจ้าง 3 ฉบับ
  4. สัญญาจ้างผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษฯ(ฉบับภาษาอังกฤษ) 1 ฉบับ (กรณีชาวต่างประเทศ)
  5. แบบรายงานผลการประเมินฯ และแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษฯ (สำหรับการต่อสัญญาจ้าง หรือเปลี่ยนประเภทของบุคลากร)
คำตอบ:
  1. สัญญาจ้างผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษฯ 3 ฉบับ
  2. ใบแสดงลักษณะงาน 3 ฉบับ
  3. เอกสารประกอบการสัญญาจ้างพนักงานแบบไม่ประจำ หรือบันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาจ้าง 3 ฉบับ
  4. สัญญาจ้างผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษฯ(ฉบับภาษาอังกฤษ) 1 ฉบับ (กรณีชาวต่างประเทศ)
  5. ประวัติย่อของบุคลากร
  6. สำเนาทะเบียนบ้าน
  7. สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหน้า Passport
  8. สำเนาวุฒิการศึกษา
คำตอบ:

https://hrm.kmutt.ac.th > แบบฟอร์ม > การสรรหาและคัดเลือก > การบรรจุบุคลากร


คำตอบ:
  1. https://hrm.kmutt.ac.th > แบบฟอร์ม > การประเมิน / My Evaluation > การประเมินเพื่อต่อสัญญาจ้าง
  2. https://intra.kmutt.ac.th > เอกสาร > โครงสร้างตำแหน่ง การประเมินผลการปฏิบัติงาน การเลื่อนเงินเดือน ค่าตอบแทน > พนักงานแบบไม่ประจำ (ผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษฯ) **สำหรับพนักงานกลุ่มวิชาการ
คำตอบ:

องค์ประกอบของผู้ประเมิน ซึ่งเป็นไปตามองค์ประกอบเดียวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย

กลุ่มวิชาการ

  1. ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
  2. ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง
  3. ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่คณะกรรมการประจำคณะ/สำนัก หรือเทียบเท่าแต่งตั้ง

กลุ่มสนับสนุนวิชาการ กลุ่มบริหารและสนับสนุน

- ให้ประเมินตามลำดับชั้นตั้งแต่ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น และผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นขึ้นไป

การต่อสัญญาจ้างลูกจ้างมหาวิทยาลัย

คำตอบ:

- นำผลประเมินการทดลองปฏิบัติงานมาใช้ประกอบการตัดสินใจในการจ้างให้ปฏิบัติงานต่อไป หรือให้ทดลองปฏิบัติงานต่อไปอีกก็ได้ ซึ่งหากมีผลการปฏิบัติงานระหว่างทดลองงานไม่ได้ หน่วยงานสามารถยกเลิกการจ้างได้ (ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีจ้างไม่ถึง 120 วัน)

- เมื่อลูกจ้างมหาวิทยาลัยผ่านการประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานทุก 3 เดือนในครั้งที่ 4 แล้ว ให้ทุกหน่วยงานประเมินผลการปฏิบัติงานทุก 6 เดือนตามรอบการประเมินเดียวกับพนักงานมหาวิทยาลัย และเมื่อหน่วยงานมีการเปลี่ยนตำแหน่ง หรือเปลี่ยนวุฒิในการจ้างระหว่างการต่อสัญญาจ้าง ขอให้ระบุในบันทึกข้อความให้ชัดเจน

คำตอบ:
  1. บันทึกข้อความแจ้งความประสงค์
  2. แบบฟอร์มขออนุมัติจ้างลูกจ้างของมหาวิทยาลัย
  3. สัญญาจ้างลูกจ้างของมหาวิทยาลัย 3 ฉบับ (สำหรับเจ้าตัว 1 ฉบับ, หน่วยงาน 1 ฉบับ และ สทบ. 1 ฉบับ)
  4. li>ใบแสดงลักษณะงาน 3 ฉบับ
  5. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน

สวัสดิการพนักงานและลูกจ้างมหาวิทยาลัย

คำตอบ:

สวัสดิการของพนักงานแบบประจำ ได้แก่

  1. สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ผู้มีสิทธิ ได้แก่ เจ้าตัว คู่สมรส และบุตรอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์
  2. การประกันอุบัติเหตุกลุ่ม
  3. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มจธ.
  4. ค่าชดเชย กรณีเกษียณอายุ หมดสัญญาจ้างหรือเลิกจ้าง
  5. เงินทดแทน กรณีเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน
  6. สวัสดิการสิทธิ์บุตรเข้าศึกษาต่อใน มจธ.
  7. สวัสดิการเคหะสงเคราะห์
  8. สวัสดิการงานศพ
  9. เงินช่วยพิเศษค่าจัดการงานศพ
คำตอบ:

สวัสดิการพนักงานแบบไม่ประจำและลูกจ้างมหาวิทยาลัย ได้แก่

  1. สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล สิทธิเฉพาะตัว
  2. การประกันอุบัติเหตุกลุ่ม
  3. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มจธ.
  4. ค่าชดเชย กรณีมหาวิทยาลัยหมดสัญญาจ้างหรือเลิกจ้าง
  5. เงินทดแทนกรณีเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน
  6. สวัสดิการงานศพ
  7. เงินช่วยพิเศษค่าจัดการงานศพ

สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล

คำตอบ:
  1. พนักงานที่บรรจุก่อนวันที่ 7 มี.ค. 2546 และพนักงานที่เปลี่ยนสภาพมาจากข้าราชการ สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลของตนเอง บิดา มารดา คู่สมรส และบุตรได้
  2. พนักงานมหาวิทยาลัยที่บรรจุหลัง 7 มี.ค. 2546 สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เฉพาะตนเอง คู่สมรส และบุตร
คำตอบ:

สามารถเบิกได้ ปีงบประมาณละ 3,000 บาท โดยแนบเอกสารเพิ่มเติมดังนี้

  1. สำเนาใบอนุญาตจัดตั้งสถานทันตกรรม
  2. ใบเสร็จรับเงินฉบับจริง
  3. ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง
คำตอบ: บุคลากรสามารถเบิกค่าทันตกรรม ที่โรงพยาบาลรัฐต่อได้ตามที่จ่ายจริง

สวัสดิการประกันอุบัติเหตุ

คำตอบ:
  1. กรณีบุคลากรพกบัตรประกันอุบัติเหตุติดตัว สามารถยื่นบัตรประกันอุบัติเหตุได้ โดยไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ณ โรงพยาบาลที่มี MOU กับบริษัทประกันภัย ซี่งมหาวิทยาลัยฯ จะเวียนแจ้งให้บุคลากรรับทราบทุกปี
  2. กรณีโรงพยาบาลไม่รับบัตรประกันอุบัติเหตุ หรือบุคลากรไม่ได้พกบัตรประกันอุบัติเหตุ บุคลากรสามารถทำการรักษาพยาบาลและสำรองจ่ายค่าสินไหม จากนั้นติดต่อ สทบ. เพื่อกรอกเอกสารเคลมค่าสินไหม พร้อมแนบเอกสารเพิ่มเติมดังนี้

- ใบเสร็จรับเงินฉบับจริง

- ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง

- ใบแจ้งความ (ถ้ามี)

ค่าชดเชย

คำตอบ: การเสียชีวิตไม่ได้รับค่าชดเชย เนื่องจากข้อบังคับ มจธ. ว่าด้วย ค่าชดเชย พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยจะจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างเมื่อมหาวิทยาลัยให้ออกจากงานหรือเลิกจ้าง ทั้งนี้ ยกเว้นกรณีพนักงานหรือลูกจ้างที่มหาวิทยาลัยจ้างต่อหลังเกษียณอายุและยังไม่ได้รับค่าชดเชย เสียชีวิตในระหว่างการจ้างหลังเกษียณอายุ มหาวิทยาลัยจะจ่ายค่าชดเชยให้แก่ทายาทโดยนับอายุการทำงานให้ถึงวันที่เกษียณอายุ

สวัสดิการการศึกษาบุตร

คำตอบ:
  1. พนักงานที่บรรจุก่อนวันที่ 7 มี.ค. 2546 และพนักงานที่เปลี่ยนสภาพมาจากข้าราชการ สามารถเบิกค่าเล่าเรียนบุตรได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยบุคลากรสามารถสอบถามอัตราการเบิก ค่าเล่าเรียนบุตรได้ที่ สำนักงานคลัง โทร. 02-470-8129
  2. พนักงานมหาวิทยาลัยที่บรรจุหลัง 7 มี.ค. 2546 ไม่สามารถเบิกค่าเล่าเรียนบุตรได้

สวัสดิการเคหะสงเคราะห์

คำตอบ: มหาวิทยาลัยมีข้อตกลงกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพื่อเป็นสวัสดิการเคหะสงเคราะห์ พนักงานสามารถติดต่อขอหนังสือรับรองผ่านสิทธิ์สวัสดิการเพื่อนำไปยื่นกับธนาคารได้ที่ สำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล โดยแนบใบแจ้งเงินเดือนเดือนล่าสุด

(สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มการขอหนังสือรับรองดังกล่าวได้ที่ www.hrm.kmutt.ac.th ไปที่แบบฟอร์ม - หนังสือรับรอง – แบบคำร้องขอหนังสือรับรองเพื่อใช้ในการกู้เคหะสงเคราะห์กับธนาคาร)

สวัสดิการงานศพ

คำตอบ: บุคลากรแจ้งหน่วยงานเพื่อให้หน่วยงานดำเนินการจัดทำบันทึกข้อความแจ้งสำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล โดยระบุกำหนดการ วัน เวลา และสถานที่จัดงานศพ
คำตอบ:
  1. กรณีปกติ ผู้มีสิทธิ์คือ พนักงาน ข้าราชการ และข้าราชการบำนาญ ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้น เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย ขึ้นไป
  2. กรณีพิเศษ ผู้มีสิทธิ์ คือ บิดา มารดา ของพนักงาน ข้าราชการและข้าราชการบำนาญ ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้น ตริตาภรณ์ช้างเผือก ขึ้นไป การขอพระราชทานเพลิงศพ/ พระราชทานดิน สามารถติดต่อได้ที่ สทบ. โดยตรง พร้อมแนบเอกสารดังนี้

- เอกสารของผู้เสียชีวิต ได้แก่

  1. สำเนาทะเบียนบ้านประทับตรา “ตาย” 1 ฉบับ
  2. สำเนาบัตรประชาชน 1 ฉบับ
  3. สำเนาใบมรณบัตร 1 ฉบับ

- เอกสารของผู้ขอ ได้แก่

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
  2. สำเนาบัตรประชาชน/ สำเนาบัตรข้าราชการ/ สำเนาบัตรพนักงาน 1 ฉบับ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

คำตอบ: พนักงานมหาวิทยาลัยมีสิทธิ์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามระเบียบสำนักนายกฯ ซึ่ง สำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคลจะดำเนินการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฯ ให้กับ พนักงาน เมื่อพนักงานมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด (สามารถดาวน์โหลดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.hrm.kmutt.ac.th ไปที่ระเบียบ/ ข้อบังคับ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์)

ลูกจ้างโครงการ

คำตอบ: ให้หน่วยงานส่งบันทึกแจ้งความประสงค์ผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับมาที่สำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคลพร้อมเอกสารดังนี้
  1. ประวัติย่อ (สามารถดาวน์โหลดได้ที่หน้าเว็บสำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล)
  2. สำเนาบัตรประชาชน
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน
  4. สำเนาวุฒิการศึกษา
  5. สำเนาบันทึกข้อความการจ้างเป็นลูกจ้างโครงการของหน่วยงาน ระบุตำแหน่ง วันที่เริ่มจ้างและสิ้นสุดการจ้าง)

เมื่อสำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคลบันทึกข้อมูลในระบบเรียบร้อยแล้วจะแจ้งหน่วยงานเพื่อนำเงินส่งสำนักงานคลัง เป็นสวัสดิการเหมาจ่าย 1,500 บาท/คน/ปี สิ่งที่ได้รับคือ 60

  1. ประกันอุบัติเหตุ (ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด)
  2. ตรวจสุขภาพประจำปีของมหาวิทยาลัย
  3. บัตรประจำตัวบุคลากร

หนังสือรับรอง

คำตอบ:
  1. ขอรับเเบบฟอร์มหนังสือรับรอง ที่ สทบ.
  2. ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ https://hrm.kmutt.ac.th/ หัวข้อ แบบฟอร์ม >หนังสือรับรอง
  3. หรือ ทาง Google form ได้ที่ลิงก์ https://kmutt.me/Certification
คำตอบ: หลังจากได้รับเรื่อง ภายใน 1 วัน (24 ชั่วโมง)
คำตอบ:
  1. เอกสารประกอบการยื่นขอ ViSA
  2. เอกสารประกอบการทำธุรกรรมการเงินต่างๆ เช่น ซื้อบ้าน ซื้อรถ เป็นต้น
  3. รับรองประสบการณ์การทำงาน เช่น สมัครงาน เป็นต้น

บัตรประจำตัวบุคลากร

คำตอบ: สามารถทำได้โดยการยื่นคำขอมีบัตรไม่เกินสามสิบวันก่อนบัตรหมดอายุ
คำตอบ: สามารถส่งรูปถ่ายมาที่ kmuttcard@kmutt.ac.th โดยรูปถ่ายมีอายุไม่เกิน 6 เดือน
คำตอบ:
  1. ควรเก็บบัตรในที่ร่ม ให้ห่างไกลแสงแดดและความร้อน
  2. ไม่ควรทำการเกี่ยวกับบัตรที่ก่อให้เกิดอาการงอ บิดเบี้ยวหรือหัก
คำตอบ:
  1. เครื่องอ่านบัตรสำนักงานอธิการบดี สามารถใช้งานได้ทันที
  2. อาคารจอดรถ ตึก 14 ชั้น สามารถใช้งานได้ตั้งแต่ 16.30 น. เป็นต้นไป
  3. สำนักหอสมุด 3 วัน ถัดไปจากวันออกบัตร
คำตอบ:
  1. แจ้งความที่สถานีตำรวจ
  2. นำใบเเจ้งความติดต่อ สำนักงานคลังเพื่อชำระค่าทำบัตรจำนวน 200 บาท (กรณีบัตรถูกโจรกรรม ไม่ต้องชำระค่าบัตรใหม่ ให้มาติดต่อที่ สทบ. ได้เลย)
  3. ติดต่อ สทบ. เพื่อขอรับเเบบฟอร์มทำบัตร พร้อมยื่นเอกสาร ใบเเจ้งความและใบเสร็จรับเงินจากสำนักงานคลัง
คำตอบ: 6 ปี นับจากวันที่ออกบัตร เว้นแต่
  1. บุคลากรของมหาวิทยาลัยที่ครบเกษียณอายุให้บัตรประจำตัวบุคลากรมีอายุจนถึงวันที่ครบเกษียณ ยกเว้นบุคลากรของมหาวิทยาลัยที่มีคำสั่งแต่งตั้งดำรงตำแหน่งบริหารให้บัตรประจำตัวบุคลากรมีอายุครบกำหนดระยะเวลาการแต่งตั้ง
  2. บัตรประจำตัวข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของข้าราชการผู้รับบำเหน็จ บำนาญ เมื่ออายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ให้คงใช้ได้ตลอดชีวิต
คำตอบ:
  1. กรณีบัตรหมดอายุบุคลากรจะต้องคืนบัตรให้กับเจ้าหน้าที่ในวันรับบัตรประจำตัวบุคลากรใหม่ทันที
  2. กรณีบุคลากรพ้นสภาพจากการเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัย บุคลากรจะต้องส่งบัตรประจำตัวบุคลากร คืนให้กับหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้หน่วยงานต้นสังกัดส่งมาที่ สทบ. หรือสามารถมาส่งได้ที่สทบ.

การขออนุญาตเดินทางออกนอกประเทศ

คำตอบ: กรณีเดินทางออกนอกประเทศโดยไม่ใช้วันลา ต้องเขียนแบบฟอร์มขออนุญาตเดินทางออกนอกประเทศ เพื่อแจ้งอธิการบดีรับทราบ การขออนุญาตเดินทางออกนอกประเทศ ต้องยื่นหนังสือขออนุญาตเดินทางออกนอกประเทศก่อนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันทำการ

การลาพักผ่อนของลูกจ้างของมหาวิทยาลัย

คำตอบ: ลูกจ้างของมหาวิทยาลัยที่ปฏิบัติงานจนถึงวันลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ลาพักผ่อนประจำปีในปีหนึ่งได้ไม่เกิน 10 วันทำการ
คำตอบ: ลูกจ้างของมหาวิทยาลัยไม่สามารถสะสมวันลาพักผ่อนได้
คำตอบ: ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานจนถึงวันลาไม่ครบ 1 ปี ไม่สามารถลาพักผ่อนได้

การลาพักผ่อนของพนักงานสายวิชาการ

การลาคลอดบุตร

คำตอบ: ลูกจ้างของมหาวิทยาลัยสามารถลาคลอดบุตรได้ไม่เกินครรภ์ละ 90 วัน โดยได้รับค่าจ้างเต็มเป็นเวลาไม่เกิน 45 วัน หลังจาก 45 วันแรกแล้วให้ได้รับค่าจ้างเต็มแต่ไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 45 วัน
คำตอบ: ลูกจ้างของมหาวิทยาลัยไม่ได้รับสิทธิการลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร
คำตอบ: สามารถลาได้ แต่เมื่อการลาคลอดบุตรคาบเกี่ยวกับการลาประเภทใด ซึ่งยังไม่ครบกำหนดวันลาของการลาประเภทนั้น ให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลงและให้นับเป็นการลาคลอดบุตรตั้งแต่วันที่เริ่มลาคลอดบุตร
คำตอบ: กรณีลาศึกษาต่อเต็มเวลา ไม่สามารถลาอื่นๆทับซ้อนเวลากันได้
คำตอบ: กรณีลาศึกษาต่อเต็มเวลา ไม่สามารถลาอื่นๆทับซ้อนเวลากันได้ แต่หากเดินทางออกนอกประเทศต้องแจ้งอธิการบดีรับทราบ