ผู้ที่สอบได้คะแนนในแต่ละภาคที่สอบตามหลักสูตรไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 และได้คะแนนรวมทั้งหมดทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
การจัดทำแบบสรุปผลงานตามหลักเกณฑ์และแนวทางการเลื่อนระดับพนักงานกลุ่มวิชาการ ขอให้ระบุผลการปฏิบัติงานให้ครบถ้วน รวมถึงต้องอธิบายรายละเอียดที่แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินงาน หรือผลกระทบที่แสดงให้เห็นในมิติต่าง ๆ เช่น ดำเนินการจัดโครงการเผยแพร่ความรู้ให้ชุมชน เรื่อง การซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า ผู้ขอรับการประเมินปฏิบัติงานในฐานะเป็นวิทยากรผู้ดำเนินการอบรมให้กับชุมชน การดำเนินการนี้ผลที่คาดว่าจะได้รับคือคนในชุมชนสามารถสมมุติฐานเบื้องต้นได้ว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าอาจเกิดเหตุเสียหายมาจากอะไร และสามารถซ่อมแซมได้เบื้องต้น เช่น การซ่อมแซมปลั๊กไฟพัดลมที่มีรอยรั่ว เป็นต้น
กรณีที่ผู้ขอรับการประเมินมิได้ใส่ผลการปฏิบัติงานไว้ในระบบ My Evaluation และหากต้องการนำผลการปฏิบัติงานนั้นมาใช้สำหรับประกอบการพิจารณาการเลื่อนระดับ ผู้ขอรับการประเมินสามารถกระทำได้ โดยจัดทำเป็นบันทึกข้อความผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นและแนบเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้สำหรับประกอบการพิจารณาการเลื่อนระดับ ทั้งนี้ ขอให้คำนึงระยะเวลาการปฏิบัติงานต้องเป็นในช่วงที่ขอรับการประเมินเพื่อเลื่อนระดับ
พนักงานต้องคำนึงและให้ความสำคัญกับข้อเสนอแนะและข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ และการเสนอผลงานเพื่อขอรับการประเมินเพื่อเลื่อนระดับต้องแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานที่เป็นไปตามข้อเสนอแนะ หรือข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการแสดงออกถึงความใส่ใจของผู้ขอรับการประเมิน คณะกรรมการฯ ต้องนำผลการพิจารณา รวมถึงข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตในครั้งก่อนมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย เพื่อเป็นการพิจารณาถึงศักยภาพในการพัฒนาที่เพิ่มมากขึ้นจากเดิม
คู่มือการเลื่อนระดับพนักงานกลุ่มวิชาการ โดยค้นหาข้อมูลได้ที่ Intranet>เอกสาร>การเลื่อนระดับพนักงานมหาวิทยาลัย>การเลื่อนระดับพนักงานกลุ่มวิชาการ
นางสาวอร่าม ใจกล้า โทร.0-2470-8075 หรือส่งข้อสงสัยสอบถามได้ที่ aram.jai@mail.kmutt.ac.th
หากเอกสารมีการแก้ไขจะต้องอยู่ในวันที่กำหนดรับเอกสารนั้น หากเกินกำหนดวันดังกล่าว จะนำเรื่องเสนอในการพิจารณาเลื่อนระดับครั้งต่อไป โดยพนักงานจะต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การพิจารณาเลื่อนระดับของมหาวิทยาลัยครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนวันที่มีผลเลื่อนระดับในรอบนั้น ๆ
การคิดคะแนนผลการปฏิบัติงาน 1 ครั้ง คือ ผลการปฏิบัติงาน 1 ปี (เม.ย. และ ต.ค) ทั้งนี้ การนำเสนอผลการปฏิบัติงานให้พิจารณาการคิดคะแนนผลการปฏิบัติ 3 ปีย้อนหลังติดต่อกัน
พนักงานสามารถใช้ผลภาษาอังกฤษเพื่อประกอบในการเลื่อนระดับได้ จนถึงวันวันที่ยื่นเอกสารเพื่อขอเลื่อนระดับพนักงานมหาวิทยาลัย
เนื่องจากคณะกรรมการกลั่นกรองการเลื่อนระดับตรวจสอบพบว่าพนักงานผู้เสนอขอเลื่อนระดับส่วนใหญ่ นำเสนอผลงานที่ขอเลื่อนระดับด้วยการรวบรวมเอกสารเป็นเล่ม ประกอบด้วย แบบฟอร์มเอกสารหรือบันทึก ข้อความ รูปภาพกิจกรรมในการทำงาน คำสั่งในงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เป็นต้น โดยขาดการจัดลำดับ ความสำคัญในงานที่ต้องการนำเสนอเป็นผลงานในการเลื่อนระดับที่มีการวิเคราะห์ให้เห็นถึงคุณค่าของงาน ตนเองปฏิบัติและมิได้มีการวิเคราะห์ผลกระทบของงานที่ส่งผลดีต่อหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัย รวมทั้งไม่ ชัดเจนในทิศทางการพัฒนาและการเติบโตของตนเองในอนาคตอย่างชัดเจน
มหาวิทยาลัยจะเบิกจ่ายเงินประจำแหน่งทางวิชาการสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ระดับ ว 2-ว6 ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ตั้งแต่ระดับ ว 3-ว6 และศาสตราจารย์ ตั้งแต่ระดับ ว4-ว6 ซึ่งอัตราการจ่ายเงินประจำตำแหน่งทางวิชาการสำหรับพนักงานให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ให้เสนอเอกสารเช่นเดียวกับการเสนอขอเลื่อนระดับกลุ่มวิชาการ (ว) และพนักงานจะได้รับเงินตามอัตราที่ระบุเมื่อมีข้อตกลงเรื่องผลงานเพิ่มกับมหาวิทยาลัย ตามเกณฑ์ที่สภาวิชาการเป็นผู้กำหนด กรณีศาสตราจารย์จะต้องได้รับแต่งตั้งและดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ในระดับ ว6 มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
ในกรณีการตัดโอนตำแหน่งและย้ายพนักงาน นั้น ต้องมีบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้บริหารของทั้ง 2 หน่วยงาน แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
*ทั้ง 2 กรณีนี้ เมื่อหน่วยงานทำความตกลงยินยอมร่วมกันแล้ว ให้จัดส่งบันทึกที่หน่วยงานได้ตกลงยินยอมการตัดโอนตำแหน่งและย้ายพนักงานของทั้งสองหน่วยงาน และส่งไปยัง สทบ. เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ไม่ได้ เพราะพนักงานที่จะได้รับการปรับวุฒิต้องเป็นพนักงานสายวิชาการเท่านั้น
เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบการขอการปรับวุฒิมีดังนี้
หมายเหตุ : ให้พนักงานผู้มีความประสงค์จะยื่นขอปรับวุฒิกรอกข้อมูลรายละเอียดตามเอกสารแบบใบคำร้องขอปรับวุฒิพนักงานให้ถูกต้องครบถ้วน และส่งเอกสารดังกล่าวข้างต้นไปยังสำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อดำเนินการต่อไป
* เอกสารต้นฉบับที่สำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคลตรวจสอบและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว จะส่งคืนเจ้าตัว
สำหรับเงื่อนไขของวันที่มีผลสำหรับผู้ที่ได้รับการปรับคุณวุฒิ/ปรับระดับตำแหน่งตามคุณวุฒิ และ มีเงื่อนไขดังนี้
ในการเสนอขอปรับวุฒิการศึกษาของพนักงานมหาวิทยาลัยจะพิจารณาผู้มีสิทธิขอปรับวุฒิ ดังนี้
หน่วยงานต้องวางแผนอัตรากำลังก่อนปีที่ข้าราชการเกษียณอายุเป็นระยะเวลา 4 ปี
พนักงานตำแหน่งวิชาการ 1. หัวหน้าภาควิชา หรือประธานสายวิชา 2. หัวหน้าสาขาวิชา หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายในภาควิชา 3. ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกภาควิชา หรือสายวิชา หรือภายนอกหลักสูตร (ในกรณีของคณะศิลปศาสตร์) อย่างน้อย 1 คน พนักงานตำแหน่งวิชาชีพอื่นที่ไม่ใช่สายวิชาการ 1. ผู้บังคับบัญชาเบื้องต้น 2. ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป 3. ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภายใน หรือหน่วยงานภายนอก จำนวน 1 คน
คณะ สำนัก สถาบัน ต้องให้คณะกรรมการประจำคณะ หรือคณะกรรมการประจำสำนัก หรือสถาบัน พิจารณากลั่นกรอง และเสนอรายชื่อคณะกรรมการประเมินตามโครงสร้างของคณะ สำนัก สถาบัน มายังอธิการบดี หรือผู้ที่อธิการบดีมอบหมายพิจารณาและแต่งตั้ง
การติดตามประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา ดังนี้
ระบบเปิดให้สามารถกรอกข้อมูลได้ตลอด โดยมีภาคการศึกษาให้เลือก
การปรับเปลี่ยนภาระงานผู้บังคับบัญชาต้องมีการจัดทำข้อตกลงภาระงานล่วงหน้าก่อนการดำเนินการทำงาน และส่งให้มหาวิทยาลัยรับทราบภายใน 1 เดือนจากวันที่ได้้ทำการตกลง (ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มวิชาการ พ.ศ.2562)
ถ้าทราบในช่วงเวลาการประเมิน สามารถแจ้งให้กรรมการประเมินเป็นผู้ปลดล็อคข้อมูล เพื่อทำการแก้ไขให้ถูกต้อง
สามารถดาวน์โหลดได้ที่ระบบ Intranet>เอกสาร>การประเมินสมรรถนะหลัก (Core Competency) สำหรับหน่วยงานนำร่อง (สำนักงานอธิการบดีและคณะวิศวกรรมศาสตร์) (มกราคม 2559)
ในการประเมินรอบดังกล่าวเป็นการประเมินเฉพาะหน่วยงานนำร่อง ผลที่ได้จะนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการประเมินสมรรถนะหลักเท่านั้น จะไม่ส่งผลต่อการเลื่อนเงินเดือน
สามารถติดต่อผ่านทาง competency@kmutt.ac.th
สามารถตรวจสอบได้โดยเข้าระบบ MyProfile ผ่านระบบ Intranet เมนูผลประเมิน/การเลื่อนเงินเดือน สามารถดูค่าสูงสุดของกล่องเงินเดือนที่ตนเองอยู่ ตรงคอลัมน์ค่า Max
การจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้บริหารจะมีการเจรจาค่าตอบแทนโดยรวมเงินประจำตำแหน่งไว้แล้ว จึงไม่มีการจ่ายเงินประจำตำแหน่งบริหารแยก
คำสั่งการเลื่อนเงินเดือนประจำปีในช่องหมายเหตุ จะมีการแจ้งว่าเต็มโครงสร้าง หรือใกล้โครงสร้าง (ใกล้หมายถึงประมาณ 10% ของเงินเดือนจะถึง Max ของกล่องตนเอง)
ตามระเบียบ มจธ. ว่าด้วย หลักเกณฑ์การเลื่อนเงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.2555 ข้อ 12 ข้อมูลเกี่ยวกับเงินเดือน เงินค่าตอบแทนอื่นๆ รวมทั้งการเลื่อนเงินเดือนของพนักงาน ให้ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่สามารถเปิดเผยแก่บุคคลอื่น
ตัวเลขที่นำไปใช้ในการคิดคำนวณ เพื่อเลื่อนเงินเดือนของพนักงานแต่ละกลุ่ม แต่ละระดับ เช่น ปัจจุบันเงินเดือน 30,000 บาท Ref. Point กลุ่ม ว1 เท่ากับ 20,000 บาท ร้อยละการเลื่อนเงินเดือน 5 ได้รับเงินเพิ่มเท่ากับ 1,000 บาท เงินเดือนที่ได้รับการเลื่อนเงินเดือน 31,000 บาท
มหาวิทยาลัยฯ จะกำหนด Reference Point ที่ใช้ในการเลื่อนเงินเดือนในแต่ละกล่องเงินเดือน ตามโครงสร้างตำแหน่งและอัตราเงินเดือนที่ได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย ซึ่ง Reference Point นี้ได้พิจารณามาจากเงินเดือนเฉลี่ย และ Mid Point ในแต่ละกล่องเงินเดือน และในแต่ละปี Reference Point อาจเท่ากับ Mid Point
คะแนน 90 - 100 เกรด A
คะแนน 80 - 89 เกรด B+
คะแนน 70 - 79 เกรด B
คะแนน 60 - 69 เกรด C+
คะแนน < 60 เกรด C และไม่ได้รับการพิจารณาให้เลื่อนเงินเดือน
ขั้นตอนการดำเนินการต่อสัญญาจ้างทำงานมีดังนี้
แนวทางในการพิจารณาการต่อสัญญาจ้างของพนักงานมีดังนี้
ในกรณีพนักงานมีผลการประเมินไม่ผ่านตามเกณฑ์ และ/หรือมีแนวโน้มของผลคะแนนการประเมินลดลงให้ดำเนินการดังนี้
- ให้ผู้บังคับบัญชาและผู้รับการประเมินจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร/ข้อตกลงที่ชัดเจนร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาปรับปรุงผลการปฏิบัติงานของพนักงานในสายงานนั้นๆ ให้ได้รับผลคะแนนการประเมินการปฏิบัติงานผ่านตามเกณฑ์ความคาดหวัง และเพื่อความก้าวหน้าของพนักงานในสายงานนั้นๆ ในอนาคตต่อไป
https://hrm.kmutt.ac.th > แบบฟอร์ม > การสรรหาและคัดเลือก > การบรรจุบุคลากร
องค์ประกอบของผู้ประเมิน ซึ่งเป็นไปตามองค์ประกอบเดียวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย
กลุ่มวิชาการ
กลุ่มสนับสนุนวิชาการ กลุ่มบริหารและสนับสนุน
- ให้ประเมินตามลำดับชั้นตั้งแต่ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น และผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นขึ้นไป
- นำผลประเมินการทดลองปฏิบัติงานมาใช้ประกอบการตัดสินใจในการจ้างให้ปฏิบัติงานต่อไป หรือให้ทดลองปฏิบัติงานต่อไปอีกก็ได้ ซึ่งหากมีผลการปฏิบัติงานระหว่างทดลองงานไม่ได้ หน่วยงานสามารถยกเลิกการจ้างได้ (ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีจ้างไม่ถึง 120 วัน)
- เมื่อลูกจ้างมหาวิทยาลัยผ่านการประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานทุก 3 เดือนในครั้งที่ 4 แล้ว ให้ทุกหน่วยงานประเมินผลการปฏิบัติงานทุก 6 เดือนตามรอบการประเมินเดียวกับพนักงานมหาวิทยาลัย และเมื่อหน่วยงานมีการเปลี่ยนตำแหน่ง หรือเปลี่ยนวุฒิในการจ้างระหว่างการต่อสัญญาจ้าง ขอให้ระบุในบันทึกข้อความให้ชัดเจน
สวัสดิการของพนักงานแบบประจำ ได้แก่
สวัสดิการพนักงานแบบไม่ประจำและลูกจ้างมหาวิทยาลัย ได้แก่
สามารถเบิกได้ ปีงบประมาณละ 3,000 บาท โดยแนบเอกสารเพิ่มเติมดังนี้
- ใบเสร็จรับเงินฉบับจริง
- ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง
- ใบแจ้งความ (ถ้ามี)
(สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มการขอหนังสือรับรองดังกล่าวได้ที่ www.hrm.kmutt.ac.th ไปที่แบบฟอร์ม - หนังสือรับรอง – แบบคำร้องขอหนังสือรับรองเพื่อใช้ในการกู้เคหะสงเคราะห์กับธนาคาร)
- เอกสารของผู้เสียชีวิต ได้แก่
- เอกสารของผู้ขอ ได้แก่
เมื่อสำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคลบันทึกข้อมูลในระบบเรียบร้อยแล้วจะแจ้งหน่วยงานเพื่อนำเงินส่งสำนักงานคลัง เป็นสวัสดิการเหมาจ่าย 1,500 บาท/คน/ปี สิ่งที่ได้รับคือ 60