การจัดทำแบบสรุปผลงานตามหลักเกณฑ์และแนวทางการเลื่อนระดับพนักงานกลุ่มวิชาการ ขอให้ระบุผลการปฏิบัติงานให้ครบถ้วน รวมถึงต้องอธิบายรายละเอียดที่แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินงาน หรือผลกระทบที่แสดงให้เห็นในมิติต่าง ๆ เช่น ดำเนินการจัดโครงการเผยแพร่ความรู้ให้ชุมชน เรื่อง การซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า ผู้ขอรับการประเมินปฏิบัติงานในฐานะเป็นวิทยากรผู้ดำเนินการอบรมให้กับชุมชน การดำเนินการนี้ผลที่คาดว่าจะได้รับคือคนในชุมชนสามารถสมมุติฐานเบื้องต้นได้ว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าอาจเกิดเหตุเสียหายมาจากอะไร และสามารถซ่อมแซมได้เบื้องต้น เช่น การซ่อมแซมปลั๊กไฟพัดลมที่มีรอยรั่ว เป็นต้น
กรณีที่ผู้ขอรับการประเมินมิได้ใส่ผลการปฏิบัติงานไว้ในระบบ My Evaluation และหากต้องการนำผลการปฏิบัติงานนั้นมาใช้สำหรับประกอบการพิจารณาการเลื่อนระดับ ผู้ขอรับการประเมินสามารถกระทำได้ โดยจัดทำเป็นบันทึกข้อความผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นและแนบเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้สำหรับประกอบการพิจารณาการเลื่อนระดับ ทั้งนี้ ขอให้คำนึงระยะเวลาการปฏิบัติงานต้องเป็นในช่วงที่ขอรับการประเมินเพื่อเลื่อนระดับ
พนักงานต้องคำนึงและให้ความสำคัญกับข้อเสนอแนะและข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ และการเสนอผลงานเพื่อขอรับการประเมินเพื่อเลื่อนระดับต้องแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานที่เป็นไปตามข้อเสนอแนะ หรือข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการแสดงออกถึงความใส่ใจของผู้ขอรับการประเมิน คณะกรรมการฯ ต้องนำผลการพิจารณา รวมถึงข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตในครั้งก่อนมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย เพื่อเป็นการพิจารณาถึงศักยภาพในการพัฒนาที่เพิ่มมากขึ้นจากเดิม
คู่มือการเลื่อนระดับพนักงานกลุ่มวิชาการ โดยค้นหาข้อมูลได้ที่ Intranet>เอกสาร>การเลื่อนระดับพนักงานมหาวิทยาลัย>การเลื่อนระดับพนักงานกลุ่มวิชาการ
นางสาวอร่าม ใจกล้า โทร.0-2470-8075 หรือส่งข้อสงสัยสอบถามได้ที่ aram.jai@mail.kmutt.ac.th
หากเอกสารมีการแก้ไขจะต้องอยู่ในวันที่กำหนดรับเอกสารนั้น หากเกินกำหนดวันดังกล่าว จะนำเรื่องเสนอในการพิจารณาเลื่อนระดับครั้งต่อไป โดยพนักงานจะต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การพิจารณาเลื่อนระดับของมหาวิทยาลัยครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนวันที่มีผลเลื่อนระดับในรอบนั้น ๆ
การคิดคะแนนผลการปฏิบัติงาน 1 ครั้ง คือ ผลการปฏิบัติงาน 1 ปี (เม.ย. และ ต.ค) ทั้งนี้ การนำเสนอผลการปฏิบัติงานให้พิจารณาการคิดคะแนนผลการปฏิบัติ 3 ปีย้อนหลังติดต่อกัน
พนักงานสามารถใช้ผลภาษาอังกฤษเพื่อประกอบในการเลื่อนระดับได้ จนถึงวันวันที่ยื่นเอกสารเพื่อขอเลื่อนระดับพนักงานมหาวิทยาลัย
เนื่องจากคณะกรรมการกลั่นกรองการเลื่อนระดับตรวจสอบพบว่าพนักงานผู้เสนอขอเลื่อนระดับส่วนใหญ่ นำเสนอผลงานที่ขอเลื่อนระดับด้วยการรวบรวมเอกสารเป็นเล่ม ประกอบด้วย แบบฟอร์มเอกสารหรือบันทึก ข้อความ รูปภาพกิจกรรมในการทำงาน คำสั่งในงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เป็นต้น โดยขาดการจัดลำดับ ความสำคัญในงานที่ต้องการนำเสนอเป็นผลงานในการเลื่อนระดับที่มีการวิเคราะห์ให้เห็นถึงคุณค่าของงาน ตนเองปฏิบัติและมิได้มีการวิเคราะห์ผลกระทบของงานที่ส่งผลดีต่อหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัย รวมทั้งไม่ ชัดเจนในทิศทางการพัฒนาและการเติบโตของตนเองในอนาคตอย่างชัดเจน
มหาวิทยาลัยจะเบิกจ่ายเงินประจำแหน่งทางวิชาการสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ระดับ ว 2-ว6 ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ตั้งแต่ระดับ ว 3-ว6 และศาสตราจารย์ ตั้งแต่ระดับ ว4-ว6 ซึ่งอัตราการจ่ายเงินประจำตำแหน่งทางวิชาการสำหรับพนักงานให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ให้เสนอเอกสารเช่นเดียวกับการเสนอขอเลื่อนระดับกลุ่มวิชาการ (ว) และพนักงานจะได้รับเงินตามอัตราที่ระบุเมื่อมีข้อตกลงเรื่องผลงานเพิ่มกับมหาวิทยาลัย ตามเกณฑ์ที่สภาวิชาการเป็นผู้กำหนด กรณีศาสตราจารย์จะต้องได้รับแต่งตั้งและดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ในระดับ ว6 มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี