การสรรหาและคัดเลือก

พนักงาน

คำตอบ:
  1. บันทึกข้อความการขอเปิดสอบที่ระบุ คุณสมบัติที่ต้องการ และรายชื่อคณะกรรมการพิจารณาเฉพาะตำแหน่ง (สอบสัมภาษณ์) เอกสารเขียนส่งถึง รองอธิการบดีฝ่ายบุคคล
  2. ใบแสดงลักษณะงาน (Job Description)
  3. ใบเสนอรายชื่อพี่เลี้ยงที่ลงนามครบถ้วนเรียบร้อย
คำตอบ:
  1. รองอธิการบดีฝ่ายบุคคล ประธานคณะอนุกรรมการ
  2. คณบดี หรือรองคณบดีที่ได้รับมอบหมาย หรือผู้อำนวยการสำนัก/สถาบัน คณะอนุกรรมการ
  3. หัวหน้าภาควิชา/ประธานสายวิชา หรือเลขานุการสำนัก/สถาบัน หรือผู้อำนวยการสำนักงานหรือเทียบเท่า หรือหัวหน้าส่วนงาน หรือหัวหน้างาน คณะอนุกรรมการ
  4. พี่เลี้ยงด้านการปฏิบัติงาน คณะอนุกรรมการ
  5. ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล คณะอนุกรรมการ
คำตอบ:
  1. ภาคการสอบข้อเขียนและหรือการทดสอบปฏิบัติ (100 คะแนน) และ
  2. ภาคการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง (สัมภาษณ์) (100 คะแนน)

ผู้ที่สอบได้คะแนนในแต่ละภาคที่สอบตามหลักสูตรไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 และได้คะแนนรวมทั้งหมดทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

คำตอบ: ตำแหน่งที่ขอเปิดสอบคัดเลือกได้ ได้แก่ 1.อาจารย์ 2.นักวิจัย 3.ตำแหน่งที่จัดอยู่ในสาขาขาดแคลน 4.ตำแหน่งที่ต้องการพนักงานที่มีประสบการณ์การทำงานสูง
คำตอบ: คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย
  1. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
  2. รองอธิการบดีฝ่ายบุคคล
  3. คณบดี/ผู้อำนวยการสำนักหรือสถาบัน หรือรองคณบดีฝ่ายวิชาการ/รองผู้อำนวยการสำนักหรือสถาบัน
  4. หัวหน้าภาควิชา/ประธานสายวิชา
  5. ผู้ทรงคุณวุฒิในศาสตร์วิชา
  6. ผู้แทนสภาวิชาการ
  7. ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล
คำตอบ:
  1. วิศวกร
  2. สถาปนิก
  3. มัณฑนากร
  4. นักคอมพิวเตอร์
  5. พยาบาล
  6. นักพัสดุ
  7. นิติกร
  8. นักประชาสัมพันธ์
คำตอบ: กำหนดการสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์ จะประกาศทางเว็บไซต์เดียวกันกับการประกาศรับสมัคร ทางมหาวิทยาลัยจะประกาศกำหนดการสอบหลังจากปิดรับสมัครแล้วไม่เกิน 7 วันทำการ
คำตอบ: หากมีผู้สอบผ่านการสัมภาษณ์ ทางสทบ.จะแจ้งวันที่ผู้สอบผ่านเริ่มปฏิบัติงานได้ไปยังหน่วยงาน
หากไม่มีผู้สอบผ่าน หากหน่วยงานต้องการเปิดสอบใหม่ ต้องส่งบันทึกข้อความมาอีกครั้ง
คำตอบ: สามารถตรวจสอบตำแหน่งที่เปิดรับสมัครได้ที่ https://kmutt.thaijobjob.com/

ลูกจ้างมหาวิทยาลัย

คำตอบ:
  1. กรณีจ้างใหม่ หน่วยงานต้องส่งตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานเพื่อนำผลมาประกอบการจ้าง
  2. ควรส่งเอกสารการจ้างมาก่อนวันที่ 15 ของทุกเดือน มิฉะนั้นจะไม่ทันการจ่ายเงินเดือนงวดนั้น ๆ
  3. การจ้างงานควรคำนึงถึงค่าชดเชย ที่หน่วยงานต้องจ่ายหากไม่ต้องการจ้างต่อ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายของหน่วยงาน
  4. ตำแหน่งและค่าจ้าง หน่วยงานต้องพิจารณาตามภาระงานและระดับตำแหน่ง โดยเทียบเคียงกับมาตรฐานการกำหนดตำแหน่งของพนักงาน เป็นเกณฑ์การจ้างไม่ใช่คุณวุฒิที่สำเร็จการศึกษา
  5. การตรวจสอบข้อมูลประวัติบุคคล ก่อนการดำเนินการจ้างลูกจ้างของมหาวิทยาลัยใหม่ ขอให้หน่วยงานตรวจสอบข้อมูลพื้นฐานบุคคล เช่น ประวัติเกี่ยวกับการจ้าง การเลิกจ้าง และได้รับค่าชดเชยของมหาวิทยาลัยได้ที่สำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล
  6. การทำสัญญาจ้างและการประเมินผลการทดลองปฏิบัติงาน เนื่องจากการจ้างบุคคลเพื่อทำงานมีความเกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าชดเชย ดังนั้นในการทำสัญญาจ้างเพื่อจ้างบุคคลทำงานในครั้งแรก หน่วยงานต้องมีการตกลงภาระงานและขอให้มีการประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานทุก 3 เดือนของการปฏิบัติงาน โดยให้ใช้ แบบประเมินผลทดลองปฏิบัติงานของลูกจ้างมหาวิทยาลัย เพื่อนำผลประเมินการปฏิบัติงานมาใช้ประกอบการตัดสินใจในการจ้างให้ปฏิบัติงานต่อไป หรือให้ทดลองปฏิบัติงานต่อไปอีกก็ได้ ซึ่งหากมีผลการปฏิบัติงานระหว่างทดลองงานไม่ได้ หน่วยงานสามารถยกเลิกการจ้างได้ (ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีจ้างไม่ถึง 120 วัน และมีการแจ้งยกเลิกการจ้างล่วงหน้า 1 เดือน)
  7. เมื่อลูกจ้างมหาวิทยาลัยผ่านการประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานทุก 3 เดือนในครั้งที่ 4 แล้ว ให้ทุกหน่วยงานประเมินผลการปฏิบัติงานทุก 6 เดือนตามรอบการประเมินเดียวกับพนักงานมหาวิทยาลัย โดยใช้แบบประเมินผลการปฏิบัติงานของลูกจ้างมหาวิทยาลัย
คำตอบ:
  1. บันทึกข้อความแสดงเหตุผลในการจ้าง
  2. แบบฟอร์มขออนุมัติจ้างลูกจ้างของมหาวิทยาลัย
  3. สัญญาจ้างลูกจ้างของมหาวิทยาลัย 3 ฉบับ (สำหรับเจ้าตัว 1 ฉบับ, หน่วยงาน 1 ฉบับ และ สทบ. 1 ฉบับ)
  4. แบบฟอร์มประวัติย่อลูกจ้างของมหาวิทยาลัย
  5. ใบแสดงลักษณะงาน
  6. สำเนาวุฒิการศึกษา
  7. สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชนหรือ Passport